เมนู

ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็นต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์
กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียว
กับเหตุ เป็นเหตุผล เหมือนอณูทั้ง 2 ของลัทธิทั้งหลาย มีสมวายวาทีเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า
ตยมิธ นิโรธสุญฺญ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺญา
สุญฺโญ ผเลน เหตุ ผลํปิ ตํ เหตุนา สุญฺญํ

บรรดาอริยสัจจะ 4 นี้ สัจจะ 3 ว่าง
จากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจาก
สัจจะ 3 แม้นั้น สัจจะที่เป็นเหตุว่างจาก
สัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็
ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น


ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ
4 เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็น
ธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น 2 อย่างโดยเป็นนามและรูป เป็น 3 อย่างโดย
แยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็น 4 อยู่ โดยประเภท
แห่งอาหาร 4 เป็น 5 อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ 5.
แม้สมุทัย ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น
2 อย่างโดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น 3 อย่าง
โดยแยกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็น 4 อย่างเพราะเป็นโทษ

อันมรรค 4 พึงละ เป็น 5 อย่างโดยแยกอารมณ์ มีความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น
เป็น 6 อย่างโดยประเภทแห่งกองตัณหา 6.1
นิโรธชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นอสังขตธาตุ แต่โดยปริยาย (อ้อม)
นิโรธเป็น 2 อย่างโดยเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน เป็น
3 อย่างเพราะสงบภพทั้ง 3 เป็น 4 อย่างเพราะเป็นอารมณ์ให้มรรค 4 บรรลุ
เป็น 5 อย่างเพราะสงบความยินดียิ่ง 5 (มีรูปารมณ์เป็นต้น) เป็น 6 อย่าง
โดยประเภทแห่งความสิ้นไปแห่งกองตัณหา 6.
แม้มรรคเล่าก็ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นธรรมควรเจริญ เป็น 2
อย่างโดยแยกเป็นสมถะและวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง เป็น 2 อย่างโดยประเภท
แห่งทัสสนะ (โสดามรรค) และภาวนา (มรรค 3 ที่เหลือ) เป็น 3 อย่าง
โดยประเภทธรรมขันธ์ 3 (มีศีลขันธ์เป็นต้น). จริงอยู่ มรรคนี้ เพราะเป็น
สัปปเทสธรรม2 จึงสงเคราะห์ (รวมเข้า) ด้วยขันธ์ 3 ที่เป็นนิปปเทสธรรม3
เหมือนหัวเมืองรวมอยู่ด้วยราชอาณาจักรฉะนั้น. เหมือนอย่างพระธัมมทินนา-
เถรีกล่าวแก้ปัญหาวิสาขอุบาสกว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ 3 พระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ส่วนอริยมรรคมีองค์ 8
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 3 แล ดูก่อนท่านวิสาขะ สัมมา-
วาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในศีลขันธ์
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ พระองค์ทรงสงเคราะห์ในสมาธิขันธ์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในปัญญาขันธ์ ดังนี้4
1. กองตัณหา 6 คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา
2. สัปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้เป็นบางส่วน (ส่วนเล็ก)
3. นิปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยสิ้นเชิง (ส่วนใหญ่).
4. ม. มู. เล่ม 12 508/549.

เพราะในอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ มรรคมีสัมมาวาจาเป็นต้นเป็นศีลอย่างเดียว
ฉะนั้น มรรค 3 มีสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น พระองค์จึงทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์
โดยกำเนิดของตน แม้ในพระบาลีพระองค์ทรงทำนิเทศไว้ด้วยสัตตมีวิภัตติ
ว่า สีลขนฺเธ1 ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติ
เท่านั้น.
อนึ่ง ในมรรค 3 มีสัมมาวายามะเป็นต้น สมาธิย่อมไม่อาจแน่วแน่
(เป็นอัปปนา)ด้วยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนได้ แต่
เมื่อวิริยะยังกิจคือการประคองจิตไว้ให้สำเร็จ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือน
ให้สำเร็จอยู่ สมาธิก็ย่อมแน่วแน่ได้. ในข้อนั้น มีอุปมาดังนี้ เปรียบเหมือน
สหาย 3 เข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักเล่นนักขัตฤกษ์2 คน
หนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้นสหาย
คนที่สองจึงก้มหลังให้ สหายคนที่หนึ่งนั้นแม้ยืนบนหลังสหายคนที่สองแล้วสั่น
อยู่ ไม่อาจเก็บดอกไม้ได้ ทีนั้นสหายคนที่สามนอกนี้จึงเอียงไหล่ไป สหาย
คนที่หนึ่งนั้นจึงยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง เหนี่ยวไหล่สหายคนหนึ่ง จึงเลือก
เก็บดอกไม้ทั้งหลายตามชอบใจ ประดับกายเล่นนักษัตร ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
พึงเห็นฉันนั้น.
จริงอยู่ ธรรม 3 มีสัมมาวายามะเป็นต้น เกิดพร้อมกันเหมือนสหาย
3 คน เข้าไปสู่อุทยานพร้อมกัน. อารมณ์เหมือนต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง.
สมาธิไม่สามารถแน่วแน่โดยความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ในอารมณ์ตามธรรมดา
ของตนเหมือนสหายคนที่หนึ่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้. วายามะ (ความ
1. คำว่า สีลขนฺเธ แปลว่า ในศีลขันธ์ แต่ท่านอรรถกถาจารย์ให้แปลว่า ด้วยศีลขันธ์.
2. งานประจำปี

เพียร) เหมือนสหายคนที่ก้มหลังให้. สติเหมือนสหายคนที่ยืนให้ไหล่ บรรดา
สหาย 3 คนนั้น สหายคนหนึ่งนี้ยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง ยึดไหล่สหายคนหนึ่ง
ย่อมอาจเก็บดอกไม้ได้ตามปรารถนา ฉันใด สมาธิก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อความ
เพียรยังกิจคือการประคองจิตให้สำเร็จอยู่ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือน
ให้สำเร็จอยู่ ได้อุปการะแล้วย่อมอาจแน่วแน่โดยมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์
เพราะฉะนั้น ในมรรค 3 เหล่านี้ มรรคคือสมาธิเท่านั้น พระองค์ทรงสงเคราะห์
ด้วยสมาธิขันธ์โดยกำเนิดของตน ส่วนมรรคมีวายามะและสติ ทรงสงเคราะห์
ด้วยสมาธิขันธ์โดยกิริยา (คือโดยเป็นธรรมมีอุปการะ).
แม้ในสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะเล่า ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) ก็ไม่
อาจวินิจฉัยอารมณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามธรรมดาของตน
ได้ แต่เมื่อวิตก (สัมมาสังกัปปะ) กระทบแล้ว ๆ ให้อยู่ ก็อาจตัดสินได้
อย่างไร ? เปรียบเหมือนเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่ดูเงิน) วางเหรียญกหาปณะใน
มือ แม้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรวจส่วนทั้งปวงของเหรียญ ก็ไม่อาจเพื่อใช้เปลือกตา
พลิกไปรอบ ๆ ได้ แต่เมื่อใช้ข้อนิ้วพลิกไป ๆ ก็อาจเพื่อแลดูข้างโน้นข้างนี้ได้
ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่อาจวินิจฉัยอารมณ์ด้วยสามารถแห่ง
ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามธรรมดาของตน แต่ย่อมอาจวินิจฉัยอารมณ์
ที่วิตกมีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นลักษณะ มีการทำจิตให้กระทบอารมณ์บ่อย ๆ
เป็นกิจ ดุจการกระทบอยู่ และดุจจับพลิกกับไปมาให้อยู่นั่นแหละ เพราะฉะ
นั้น ในอธิการแม้นี้ สัมมาทิฏฐิเท่านั้นพระองค์ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยปัญญาขันธ์
เพราะกำเนิดของตน ส่วนสัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอันพระองค์ทรงสงเคราะห์
ในปัญญาขันธ์โดยกิริยา มรรคย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 3 เหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า มรรคมี 3 อย่างโดยประเภทแห่งขันธ์
3. มรรคมี 4 อย่างด้วยสามารถแห่งมรรค 4 มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะทั้งหมดนั่นแหละมีอย่างเดียว เพราะเป็นภาวะที่มี
อยู่โดยแท้จริง หรือเพราะเป็นอภิญไญยธรรม (ธรรมที่พึงรู้ยิ่ง) มี 2 อย่าง
โดยเป็นโลกิยะและโลกุตระ และเป็นสังขตะและอสังขตะ มี 3 อย่าง โดย
เป็นธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา โดยเป็นธรรมไม่พึงละด้วยทัสสนะ
และภาวนา และโดยเป็นธรรมที่พึงละก็ไม่ใช่ ไม่พึงละก็ไม่ใช่ มี 4 อย่าง
โดยประเภทปริญไญยธรรมเป็นต้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้โดยเป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสภาคะและวิสภาคะ


ข้อว่า โดยสภาคะและวิสภาคะ ความว่า สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ
ชื่อว่า เป็นสภาคะ (คือมีส่วนเสมอ) กันและกัน โดยเป็นของแท้ โดยเป็น
ของว่างจากอัตตา และโดยเป็นสิ่งที่แทงตลอดได้ยาก เหมือนอย่างที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อย่างไหนหนอจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือการที่
ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กัน โดยช่องดาลเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ
ยิงปลายขนทราย ด้วยขนทรายที่แบ่งออกเป็น 7 ส่วน*" ดังนี้ พระอานนท์
ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยิงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่ง
ออกเป็น 7 ส่วน กระทำได้ยากกว่าและให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า พระเจ้าข้า"
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใด ย่อม
* ปลายขนทรายแบ่งเป็น 7 ส่วน ติดที่ปลายลูกศรแล้วยิงปลายขนทรายนั้นให้ถูกเป็นการยาก
แต่พระองค์ตรัสว่า การแทงตลอดสัจจะยากกว่า (เก็บจากมหาฎีกา)